ความท้าทายของระบบ SMS เตือนภัยในประเทศไทย: ทำไมยังไม่พร้อมใช้งานเต็มรูปแบบ?

Last updated: 2 เม.ย 2568  |  100 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความท้าทายของระบบ SMS เตือนภัยในประเทศไทย: ทำไมยังไม่พร้อมใช้งานเต็มรูปแบบ?


เหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้ประชาชนชาวไทยหลังเกิดเหตุไม่คาดฝันจากภัยธรรมชาติหลายๆ ครั้งที่ผ่าน ประเทศไทยก็ยังไม่พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบ SMS เตือนภัยในประเทศไทยที่ทุกคนเรียกร้องให้มี อะไรคือความท้าทายที่ทำให้ระบบยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนในต่างประเทศ มาดูกัน

 

1. การประสานงานระหว่างหน่วยงาน

     การประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และ กสทช. ตลอดจนเอกชนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมยังไม่มีเอกภาพ การทำงานร่วมกัน ทำให้การดำเนินงานเมื่อเกิดเหตุไม่มีทิศทาง และขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน

 

2. ความไม่พร้อมของเทคโนโลยี

     ควรนำระบบ Cell Broadcast ที่สามารถส่งข้อความไปยังมือถือทุกเครื่องพร้อมกันในทันที โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกหรือเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ มาใช้เต็มรูปแบบ เนื่องจากระบบนี้มีความรวดเร็วในการส่งข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่กว้าง และทำงานได้แม้ในสภาวะที่โครงข่ายโทรศัพท์มีปัญหา แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับผู้ใช้มือถือระบบ iOS ได้ทั้งหมด เนื่องจากต้องรอการอัพเดตซอฟต์แวร์จาก Apple

 

3. การลงทะเบียนผู้ส่งข้อความ (Sender Name)

     กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กำหนดให้มีการจัดระเบียบ SMS ใหม่ทั้งหมด โดยผู้ส่งข้อความต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเครือข่ายทุกครั้ง และต้องระบุรายละเอียดของข้อความและลิงก์ เพื่อให้ผู้ให้บริการเครือข่ายตรวจสอบลิงก์ก่อนที่จะส่งข้อความ เพื่อตัดวงจรมิจฉาชีพหลอกลวง

 

4. การพัฒนาระบบและโครงข่าย

     ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมได้พัฒนา และยกระดับโครงข่าย เพื่อรองรับภารกิจแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

5. การทดสอบและการใช้งานจริง

     การทดสอบระบบ Cell Broadcast และ SMS ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบและปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

     Thaicom Express ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบความเสียหายทุกท่านจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีการถอดบทเรียน และผลักดันให้ประเทศไทยของเรามีระบบการเตือนภัยที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างจริงจังในเร็ววัน เพื่อความอุ่นใจของพี่น้องชาวไทยทุกคนในอนาคต 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้